ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

ปฏิทิน

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ครั้นสิเป็นหมอว่านหมอยาหมอป่า

ครั้นสิเฮียนบีบเส้นเอ็นคั้นให้ส่วงดี

(บีบเส้น = การนวด, ส่วง = หาย)

หรือสิเฮียนคงค้อนคงหลาวหอกดาบ

เฮียนให้เถิงขนาดแท้ดีถ้วนสู่อัน

หรือสิเฮียนหนังสือให้เฮียนไปสุดขีด

ครั้นแม้เฮียนแท้ให้เป็นคนฮู้สู่คน

(คนฮู้ = คนดี)

หรือสิเฮียนเป็นหมอเต้น หมอตี หมอต่อย

ให้เฮียนแท้ๆ คนจ้างสู่วัน

หรือสิเป็นหมอน้ำตึกปลาแหหว่าน

ทำให้ได้เต็มข้องสู่วัน

(ข้อง = เครื่องจักสานใช้ใส่ปลา)

หรือสิเป็นหมอสร้างนาสวนฮั่วไฮ่

เอาให้ได้เกวียนซื้อแก่ขาย
ที่มา : http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/pumpanya1.htm, ที่มา : พระยาคำกองสอนไพร่

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

อาหารอีสาน

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย
ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว
เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา


ทีมา : http://student.nu.ac.th/isannu/food/foodindex.htm

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

น้ำจะท่วมโลก

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะดินของภาคอีสานเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำและการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ จึงจะพบว่าพอถึงหน้าแล้งประชาชนจะอพยพไปหางานทำต่างถิ่นเป็นจำนวนมาก ถึงฤดูฝนประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

การแต่งกายประจำภาคอีสาน


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน” ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย)
การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ประเพณีผูกเสี่ยว

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

แห่เทียนพรรษา อุบลฯ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

แผนที่จังหวัดมหาสารคาม


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ท้าวมหาชัย


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

พระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 -15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

Welcome to Thailand

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ประเพณีแห่เทียนพรรษา


อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก หัวเมืองในภาคอีสาน

เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 เมืองอุบลราชธานีจัดงานบุญบั้งไฟ โดยทุกคุ้มจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล มีการแห่บั้งไฟไปรอบเมืองและจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ บั้งไฟตกลงมา ถูกชาวบ้านตายในงาน มีการชกต่อย ตีรันฟันแทงกัน ก่อเหตุวุ่นวายไปทั้งงาน กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ สมัยนั้น ให้ยกเลิกงานประเพณีบุญบั้งไฟเสีย แล้วให้มาจัดงาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ในสมัยแรกๆ นั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะกล่าว ร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวย

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ประเพณีอีสานอีสาน


ประเพณีของชาวอีสานมีความหลากหลายและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ประเพณีส่วนใหญ่จะเกิดจากความเชื่อ ค่านิยม และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น และอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อคนในท้องถิ่น ประเพณีต่างๆถูกจัดขึ้นเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพและเพื่อถ่ายทอดแนวความคิด ค่านิยมที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร เกิดจากการที่คนในท้องถิ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เชื่อว่าการจุดบั้งไฟจะทำให้ผญาแถนดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม เพราะจังหวัดนี้ติดแม่น้ำโขงและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงมาตลอด จึงอยากขอบคุณพระแม่คงคาประจำลำน้ำโขงที่ได้ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่สังคมริมฝั่งโขง ดังนั้นจึงจัดประเพณีไหลเรือไฟขึ้นมา งานบุญงานประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานในท้องถิ่นต่างๆจัดขึ้นนับว่าเป็นสื่อที่ดีในการถ่ายถอดแนวความ ค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา วิถีการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

บ้านเรือนอีสาน


การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นในศิลปะที่ชาวอีสานภาคภูมิใจ บ้านเรือนของชาวอีสานสร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาดรุ่นบรรพบุรุษ เริ่มจากเถียงนาน้อย ค่อยๆกลายมาเป็นบ้านไม้ที่มีความคงทนถาวร จนในปัจจุบันเป็นบ้านก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีบ้านเรือนเป็นจำนวนมากที่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานโบราณไว้เป็นอย่างดี

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ศิลปะอีสาน


ศิลปะของชาวอีสานมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่ค้นพบ ไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือถ้ำผ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ (ซึ่งบางแห่งเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในโลก) ล้วนแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของชาวอีสานรู้จักใช้งานศิลปะพวกภาพและสัญลักษณ์ต่างๆเป็นตัวสื่อความหมายมาเป็นเวลานาน และยังรู้จักเลือกใช้สีและวัสดุที่มีความคงทนสามารถทนต่อสภาพดินฝ้าอากาศและการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีตราบถึงปัจจุบัน ที่ยังคงบอกเรื่องราวการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษของชาวอีสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน


อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า
อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
อีสานเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ...."

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน


ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย

ส่วนประชาชนที่อยู่ทางจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา มีการติดต่อกันกับประชาชนชาวกัมพูชาก็จะรับเอาวัฒนธรรมของกัมพูชามาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัฒนธรรมประเพณีของคนทั้งสองเชื้อชาติก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของไทยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัฒนธรรมทางด้านการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเราสามารถสังเกตรูปแบบวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอีสานผ่านทางประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานจัดขึ้นซึ่งสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

Neil Diamond The Chanukah Song

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS